หัวโขน KHON MASK

หัวโขน
หัวโขน เป็นเครื่องใช้สำหรับศีรษะและปิดบังส่วนหน้าที่คล้ายกับหน้ากาก แต่หัวโขนจะมีลักษณะที่แตกต่างออกไปตรงที่สร้างหุ่นจำลองรูปทรงใบหน้าและศีรษะ ทั้งหมด โดยผู้แสดงสามารถสวมครอบศีรษะจะห่อหุ้มส่วนใบหน้าและส่วนหัวมิดชิด และเจาะช่องเป็นรูกลมที่ตาของหน้ากากให้ตรงกับนัยน์ตาของผู้แสดง เพื่อให้นักแสดงมองเห็นการแสดง
หัวโขน อาจแบ่งตามประเภทของหัวโขนที่ใช้สวมอย่างละ 2 จำพวก คือ ยักษ์ยอด ยักษ์โล้น และลิงยอด ลิงโล้น นอกจากนี้หัวโขนก็ยังแบ่งออกได้ตามชนิดของหัวโขนซึ่งมีลักษณะต่างๆ กัน ซึ่งจะแบ่งเป็นฝ่ายลงกา และฝ่ายพลับเพลาดังนี้
1. พญาวานร
หนุมาน-พญาวานร

ลักษณะหัวโขน หน้าวานรปากอ้าสีขาวผ่องหัวโล้นสวมมาลัยทองมีเขี้ยวแก้วอยู่กลางเพดานปากนอก จากนี้ยังมีการทำหนังโขนหน้าหนุมานอีหลายแบบ คือตอนแผลงฤทธิ์มีหน้า เป็นหน้าปกติหน้าและมีหน้าเล็กหน้าที่ด้านหลังตอนทารองเครื่องอาสาพระรามล่อลวง ทศกัณฐ์สวม
มงกุฎยอดชัยตอนออกบวชสวมชฎายอดฤๅษีนอกจากนี้ยังมีการทำหน้าหนุมานเป็นหน้ามุกอีกด้วย
Hanuman
Hanuman, a noble monkey-warrior, born from Phra Isuan’s power and powerful weapon carried by Phra Pai to place into the mouth of Nang Sawaha. When manifesting his magic power; Hanuman will have four faces and eight arms.
Hanuman donning a traveling headdress while on a voluntary trip to deceive Tosakanth for a box that contains the Demon King’s heart.
Hanuman donning Yodchai headdress when rewarded by Phra Ram with the title, “Phaya Anuchit Chakrit Pipatpongsa”, ruler of the City of Nopburi.
สุครีพ-พญาวานร

ลักษณะหัวโขน หน้าวานรหากอ้าสีแดง หรือสีแดงชาด สวมชฎายอดบัด (บางแห่งว่าชฎายอดเดินหน)
ตามประวัติกล่าวว่าเป็นโอรสพระอาทิตย์กับนางกาลอัจนาต้องคำสาปจากฤๅษีโคดมเช่นเดียวกับพญากากาศ บทบาทสำคัญ คือ อาสาทำให้เขาพระสุเมรุซึ่งเอยงด้วยรามสูรจับอรชุนฟาดให้ตั้งตรงดังเดิม
Sukreep, a noble monkey warrior and a son of Phra In and Nang Kalaatchana. Sukreep is a regent of the City of Keedkhin. After the battles of Longka, he is appointed with the title, Phaya Waiyawongsa Mahasuradet.
ชามพูวราช

ลักษณะหัวโขน หน้าวานรปากอ้าสีแดงชาด สวมมงกุฎชัย ในตอนที่แปลงกายเป็นหมีมีชื่อว่า ชมพูหมี หัวโขนทำเป็นหน้าหมี สวมเทริดยอดน้ำเต้า
ตามประวัติกล่าวว่าพญาวานรนี้มีกำเนิดจาไม้ไผ่ซึ่งผุดขึ้นขณะฤๅษีสุขวัฒนบำเพ็ญณาน ฤๅษีได้นำไปถวายพระอิศวร ทรงนำไปทำธนู ครั้นโก่งธนูหักเป็น ๒ ท่อน ต้นธนูเกิดเป็นพญาอสูรชื่อเวรัมภ์ ปลายธนูเกิดเป็นพญาวานรชื่อนิลเกสรหรือชามพูวราช
Chompuphan
Chompuphan, a noble monkey warrior created by Phra Isuan from his dead skin and sweat, and given to Pali as his adopted son. He is an expert in potent medicines.
นิลพัล

ลักษณะหัวโขน หน้าวานรปากอ้าสีน้ำรัก หรือสีดำขลับ หัวโล้น สวมมาลัยทอง เป็นบุตรพระกาลซึ่งพระอิศวรประทานให้ไปอยู่ช่วยกิจการบ้านเมืองของท้าวมหาชมพู บทบาทของนิลพัทในเรื่องรามเกียรติ์ เป็นผู้คุมวานรเมืองชมพูจองถนนข้ามกรุงลงการ่วมกับหนุมาน ซึ่งคุมวานรเมืองขีดขิน เกิดทะเลาะวิวาทกัน พระรามลงโทษให้ไปรักษาเมืองขีดขิน โดยส่งเสบียงให้กองทัพเดือนละครั้ง อาสาเป็นทัพหน้าครั้งกบฏกรุงลงกา เสด็จศึกได้ศักดิ์เป็นพญาอภัยพัทวงศ์อุปราชเมืองชมพู
Nilamond
Nilamond, a leading monkey warrior, a citizen of the City of Chompu. After the battles of Longka, he is rewarded with the position of regent of the City of Chompu.
2.พญายักษ์
ทศกัณฐ์

ลักษณะหัวโขน ทำเป็นหน้ายักษ์ 3 ชั้น คือ ชั้นแรกมีหน้าปกติ 1 หน้า และมีหน้าเล็ก ๆ เรียงกัน 3 หน้า ตรงท้ายทอง ชั้นที่ 2 ทำหน้าเป็นหน้าเล็ก ๆ 4 หน้า เรียงสีด้าน ชั้น 3 ทำเป็น หน้าพรหมด้านหน้า หน้ายักษ์ด้านหลัง ปากแสยะตาโพลง สวมมงกุฎยอดขัย หน้าทศกัณฐ์มี 3 สี คือ ปกติใช้หน้าสีเขียว ตอนนั่งเมืองใช้หน้าสีทอง และมีทำหน้าสีน้ำรักยังไม่มีปรากฏใช้ใน การแสดง
นอกจากนี้ยังมีหัวโขนทศกัณฐ์แปลงเป็นพระอินทร์ในการรบครั้งสุดท้าย ลักษณะทำเป็นหน้าพระ 3 ชั้น สีเขียว มีเขี้ยว ซึ่งเป็นหัวโขนเพียงหัวเดียวในเมืองไทยมีประดิษฐ์ขึ้นในสมัยรัชการที่ 2 และยัง มีหัวโขนหน้าทศกัณฐ์ที่ทำด้วยทองแดงปิดทองประดับกระจกอีก 1 หัว
The Longka are listed in rank which are:
-Yak Yai e.g. Tosakanth.
-Yak Noi e.g. Kumpakan, Indrachit.
-Yak Tang Muang e.g. Mayarap, Saeng Athit, Sathasul.
-Yak sena e.g. Mahotorn, Poavanasun.
-Sena Yak e.g. Kalasul, Karoonraj.
-Demon soldiers.
Tosakanth
Tosakanth, the Demon King, the third monarch of Longha City. He is the reincarnation of Nontuk, the first child of King Lastian and Nang Ratchada and he has seven siblings.
นางสำมนักขา

นางสำมนักขา เป็นยักษ์ กายสีเขียว เป็นน้องร่วมมารดาคนสุดท้องของทศกัณฑ์ สามีชื่อชิวหา ต่อมาชิวหาถูกทศกัณฑ์ขว้างจักรตัดลิ้นขาดถึงแก่ความตาย นางสำมนักขาจึงเป็นม่าย มีความว้าเหว่ ออกเที่ยวไปจนได้พบพระราม นางเห็นพระรามรูปงามก็นึกรักอยากได้เป็นคู่ครอง ถึงกับตบตีนางด้วยความหึงหวง จึงถูกพระลักษณ์ตัดหู จมูก มือและเท้าแล้วไล่ไป นางสำมนักขากลับไปฟ้องพี่ชาย คือ ทูษณ์ ขร และตรีเศียร ว่าถูกพระรามข่มเหง แต่ยักษ์ทั้ง 3 ตน ก็ถูกพระรามสังหาร นางสำมนักขาจึงไปหาทศกัณฑ์ ชมโฉมนางสีดาให้ฟัง จนทศกัณฑ์นึกอยากได้เป็นชายา จนกระทั่งไปลักพานางสีดามา
Samanakha
Samanakha, a maiden demon, Tosakanth’s sister. She plays a major role in initiating the battles between Phra Ram and Tosakanth.
พิเภก

พิเภก คือ เทพบุตรเวสสุญาณ จุติลงมาเกิดเพื่อช่วยพระรามปราบทศกัณฐ์ พิเภกเป็นยักษ์มีกายสีเขียว เป็นน้องของทศกัณฐ์ มีความรู้ทางโหราศาสตร์อย่างยอดเยี่ยม สามารถทำนายเหตุการณ์ล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำ เมื่อทศกัณฐ์ลักพานางสีดามา พิเภกได้ทูลตักเตือนและแนะนำให้ส่งนางสีดาคืนไป ทำให้ทศกัณฐ์โกรธมาก จนขับไล่พิเภกออกไปจากเมืองพิเภกจึงไปสวามีภักดิ์กับพระราม ให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์จนกระทั่งพระรามชนะสงคราม หลังจากเสร็จศึกแล้ว พระรามได้สถาปนาให้พิเภกเป็นกษัตริย์ครองกรุงลงกา มีพระนามว่า ท้าวทศคีรีวงศ์
Pipek
Pipek or Phra Vessuyarn in his previous life, reborn Tosakanth’s half brother by Phra Isuan’s command. He is meant to spy on the Demon’s side for the benefit of Phra Ram.
3.ตัวพระ
พระราม

ลักษณะหัวโขน หน้าพระสีเขียวนวล ตอนครองเมืองสามมงกุฎยอดชัยหรือพระมหามงกุฎ ตอนเดินดงสวมมงกุฎยอดเดิน ตอนทรงพรตสวมชฎายอดฤๅษี กษัตริย์กรุงศรีอยุธยาองค์ที่ 4 กายสีเขียวนวล 1 พักตร์ 2 กร คือพระนารายณ์อวตาร ลงมาเกิดเป็นโอรสของท้าวทศรถกับนาง
ปกติพระรามทรงศรเป็นอาวุธ เวลาสำแดงอิทธิฤทธิ์ปรากฏเป็น ๔ กร ทรงเทพอาวุธเช่นเดียวกับพระนารายณ์ คือ ตรี คทา จักร และสังค์มีมเหสีชื่อนางสีดา ซึ่งได้แก่ พระลักษมีเทวีแบ่งภาคมาช่วยพระรามปราบปรามเหล่าอสูรร้ายผู้คอยทำลายความสงบสุขของโลกมี โอรสชื่อพระมงกุฎ ออกเดินดงตามที่นางไกยเกษีขอพรเป็นเวลา ๑๔ ปี ในขณะเดินดงนั้น ทศกัณฐ์มาลัดนางสีดา และเป็นเหตุให้เกิดสงครามล้างพวกยักษ์ เมื่อเสร็จศึกกรุงลงกาแล้วพระรามยัง ต้องพลัดพรากจากนางสีดาอีก ด้วยเหตุเข้าใจผิดและระแวง จนกระทั่งพระอิศวรต้องมาไกล่เกลี่ย
Phra Ram
Born at midnight, Phra Ram’s complexion is thus depicted as green. His personal weapon is an arrow, a gift from Phra Isuan. As the reincarnation of Phra Narai destined to conquer Tosakanth, who has caused havoc to the deities and humans, Phra Ram is considered a hero-king who abides by the principles of Rajadham, the Ten Virtues of the Monarch. He is well known for his supreme gratitude and his willingness to sacrifice his personal happiness to keep his father’s promise. He is well loved by his relatives and subjects. He remains faithful to his wife and loves all his brothers and followers equally.
พระลักษณ์

ลักษณะหัวโขน หน้าพระสีทอง สวมมงกุฎยอดเดินหน มงกุฎยอดชัยหรือพระมหามงกุฎ ตอนทรงพรตสวมชฎาหรือชฎายอดฤๅษี เป็นอนุชาของพระราม กายสีทอง ๑ พักตร์ ๒ กร คือ บัลลังก์นาคและสังค์ของพระนารายณ์อวตาร ลงมาเกิดเป็นโอรสท้าวทศรถกับนางสมุทรชา เมื่อพระรามออกเดินดงขอตามเสด็จด้วย ตรากตรำทำศึกขับเคี่ยวกับเหล่าอสูรตลอดระยะเวลา ๑๔ ปี ความในบทละครเรื่องรามเกียรติ์ตอนพระลักษมณ์ขอตามเสด็จว่า
Phra Lak
Born at daybreak, Phra Lak has a golden complexion. He was Phaya Ananta Nagaraj, Phra Narai’s throne in a past life. His filial loyalty led him to join Phra Ram and Sida to the forest. He rendered supports to his brother throughout the fourteen years of warfare. After the end of the war, he returned to the City with his brother. Phra Lak is a symbol of self-sacrifice and loyalty. A good example is the bow-lifting contest of Sida’s suitors, when Phra Lak was able to move the bow but refused to lift it because he wanted his brother to win instead.

Leave a comment